วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
วิสัยทัศน์ของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเอื้อประโยชน์ทางการศึกษา คือ “ความมุ่งมั่นของสังคมที่จะนำพาประเทศชาติก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ด้วยระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอย่างรูปธรรม เพื่อให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียม ทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่องเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ ภายใต้เครือข่ายทางกายภาพและเครือข่ายความร่วมมือของประชาคมศึกษาและท้องถิ่น ตามกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ก้าวหน้า ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของระบบการศึกษาอย่างมีพลวัต”

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการประกอบอาชีพ 2.เพิ่มผลผลิตให้องค์กร

3.เพิ่มคุณภาพด้านการบริการลูกค้า 4.ผลิตและขยายผลิตภัณฑ์ใหม่

5.สร้างทางเลือกในการแข่งขันได้ 6.สร้างโอกาสทางธุรกิจ

7.สร้างแรงดึงดูดต่อลูกค้า
ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย 2.ใช้ต้นทุนสูง 3.ทำให้ระบบที่มีการพัฒนาต้องปรับตาม

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศเราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารจนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมไปแต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านทางระบบ อิเล็คทรอนิคเมล์ (E-Mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วย

หลักการประเมินการเรียนรู้ : การประเมินเป็นการตรวจสอบความรู้ของผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต้องประเมินผู้เรียนหลายด้าน และการประเมินตัวสื่อจะประเมินด้านคุณภาพการออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบหน้าจอ การใช้งาน รวมทั้งประสิทธิภาพของสื่อฯ ส่วนการประเมินการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้สื่อจะประเมินผู้เรียนทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ในการทำงาน การปฏิบัติหรือการแสดงออกมาให้เห็น รวมทั้งผลงานสุดท้ายที่ผู้เรียนทำได้ วิธีการประเมินจะไม่ใช้แบบทดสอบหรือแบบสอบถามดังที่ผ่านมา แต่จะเป็นวิธีการหลายๆอย่าง เช่นการประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฎิบัติ การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน รวมทั้งการใช้แนวทางการให้คะแนนแบบรูบิคส์ ในการสร้างเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งรูบิคส์มีบทบาทต่อการประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง( อ้างอิงจาก เรื่องความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย กรมวิชาการ) ดังนั้นการที่เราจะใช้สื่อทางการศึกษา เราต้องมีความเข้าใจเรื่อง Technology Education ก่อนที่จะนำ education Technology มาใช้ในการศึกษา