วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา





ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของการศึกษา ตอนหนึ่งว่า " สังคมปัจจุปันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society) หมายถึงการที่บุคคลจะดำรงตนอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบันได้อย่างมีความสุข บุคคลจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ วิทยาการที่ก้าวหน้า เป็นปัจจัยเกื้อกูลการดำเนินชีวิต สมาชิกของสังคมที่ใฝ่ความก้าวหน้า ให้จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เทคโนโลยีสมัยใหม่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ในอันที่จะเกื้อกูลกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต ยุคนี้จึงเป็นยุคของการผสมผสานระหว่างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งเทคโนโลยีควบคู่กันไป สถาบันทางสังคมต่างๆ นอกเหนือจากสถานศึกษาที่มีอยู่ ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการให้การศึกษาในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ บ้าน วัด หน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายประเภทรวมทั้งสถาบันสื่อมวลชน ได้รับการกระตุ้นให้มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพของประชากรมากยิ่งขึ้น
สถาบันสื่อมวลชน เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่างบุคคลในสังคมเพื่อให้สมาชิกมีความรู้เพิ่มขึ้น
หน้าที่พื้นฐานของสถาบันสื่อมวลชน คือ
1. ถ่ายทอดข่าวสารให้ประชาชน
2. ให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสดงทัศนคติต่าง ๆ
3. ให้ความบันเทิงแก่ประชาชน
4. เป็นผู้นำมวลชนในการแสดงความคิดเห็น
5. เป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคม

สื่อมวลชนในปัจจุบันมีศักยภาพอย่างเพียงพอ ในการนำเสนอสาระความรู้ต่างๆ โดย เฉพาะโทรทัศน์ ที่นำเสนอภาพยนตร์ หรือการสาธิตที่มีวัสดุอุปกรณ์ประกอบอย่างสมบรูณ์ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจนสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่สุดในการนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงครัวเรือนจนนำไปสู่การเสพข้อมูลข่าวสารได้ง่ายที่สุด เนื่องจากปัญหาในสภาพปัจจุบันนี้ : - การเลี้ยงดู ของพ่อแม่ หรือครอบครัว : พ่อแม่ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีเวลาในการอบรมสั่งสอน ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกเท่าใดนัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานหนัก และเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เลยไม่ค่อยมีญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือดูแลเด็ก ทำให้เด็กหันไปติดเพื่อน และชักจูงไปสู่ สิ่งที่ผิดได้ง่าย - สภาพแวดล้อมในสังคม : สังคมวัตถุนิยม แข่งขันกันด้านวัตถุ (ดูในข่าวเด็กขายตัวกันเพราะอยากได้มือถือ อยากได้สร้อยทอง...เฮ้อ) ผับ เธค โต๊ะสนุ๊ก VCDโป๊ ก็เกลื่อนเมืองไปหมด TV ซึ่งถือเป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่สุด ต่อความรู้สึกนึกคิด และค่านิยมของเด็ก ส่วนมากก็เน้นแต่ความบันเทิง ไร้สาระซะเป็นส่วนมาก ไม่คิดถึงประโยชน์ ต่อสังคมส่วนรวมกันซะบ้างเลย - ตัวเด็กเอง : คือผลผลิตขององค์ประกอบข้างบน ถ้าเด็กไม่มีสามัญสำนึกที่ดีล่ะก็ จะถูกดูดกลืนไปในทางที่ผิดได้ง่ายทีเดียว

การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์
ารจัดประเภทรายการ เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ควรจะกำหนดเวลาด ้วย ไม่เช่นนั้น เด็กก็จะยังได้รับภาพและเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมอยู่ดี อย่างกลับบ้านมาตอนเย็นไม่มีผู้ใหญ่ดูทีวีด้วย แล้วใครจะแนะนำ? อย่าว่าแต่เด็ก ผู้ใหญ่กันเองก็ดี ถ้าดูละครตบตี อิจฉาริษยา มากๆ ก็อาจติดมาใช้ในชีวิตจริงได้ ทำลายความสุขส่วนรวมของสังคมอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดช่วยกัน กลายเป็นคิดแย่งกันใครว่าประเทศพัฒนาแล้ว ไม่กำหนดเวลารายการออกรายการ1. ประเทศพัฒนาแล้วที่พูดถึงนั้นก็มีปัญหาสังคม และปัญหาความรุนแรง ที่เป็นข่าวน่าสลดทั่วโลก เราต้องป้องกันไม่ให้เป็นแบบนั้น มิใช่หรือ?2. ประเทศพัฒนาแล้วก็มีหลายประเทศ ทั้งที่กำหนดเวลาและไม่กำหนดเวลาก็มี แต่เท่าที่รู้ที่ญี่ปุ่น ที่ นิวซีแลนด์ ที่สิงคโปร์ ก็ไม่มีรายการไม่ดีหรือติดเรทโป๊ ในช่วงหัวค่ำเลย ที่สิงคโปร์ช่วงหัวค่ำไปจนถึงสี่ทุ่ม ก็จะมีหนังซีรี่ส์เป็นตอนๆ ออกตลกๆ ซึ่งก็จะสอดแทรกข้อคิด คำสอนดีๆให้คนทำดีเอาไว้ด้วย เช่นเรื่อง Maggi&Me ซึ่งตอนนี้ก็ยังฉายอยู่ หรือไม่ตอนช่วงที่เคยอยู่เมื่อปีที่แล้ว ก็จะมีรายการแข่งร้องเพลง Singapore Idol ตอนหัวค่ำ หนังประเภทที่มีความรุนแรง หรือหนังคล้ายๆหนังน้ำเน่าบ้านเราก็จะไปอยู่หลัง 4ทุ่ม แม้แต่ CSI หลังซีรี่ส์สืบสวนสอบสวนของฝรั่ง ที่มีฉากรุนแรง การฆ่าตกรรมก็ถูกเอาไปฉายดึกถึง 5ทุ่มเลย

SMS เป็นการสะท้อนถึงความต้องการทางสังคม ให้เห็นว่าผู้ชม หรือประชาชนคิดอย่างไร หรือต้องการอะไร โดยเฉพาะทางมีส่วนร่วมทางการสื่อสาร ที่แต่ก่อนสื่อโทรทัศน์จัดเป็นสื่อประเภทการสื่อสารทางเดียว แต่ปัจจุบันเมื่อมีระบบ SMS เข้ามา มีการส่งข้อความของผู้ชมในเพื่อโต้ตอบ กับทางรายการโทรทัศน์ ทำให้ประชานสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้สะดวกรวดเร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการส่ง SMS ถือเป็นการเคลือบแฝงธุรกิจของผู้ผลิตรายการ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตรายการแต่ละรายการมีความเคลื่อนไหว พยายามให้รายการของตนมี SMS จนมากเกินไป แต่ถ้าถามว่า SMS เป็นการมอมเมาหรือไม่นั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่ เพราะสามารถเลือกที่จะส่ง หรือไม่ส่งก็ได้ ไม่มีใครว่า แต่บางรายการ โดยเฉพาะรายการที่ให้แสดงความคิดเห็นที่เป็นการชี้นำผู้ชมทางบ้าน ที่บางครั้งคิดว่ามันทำให้เกิดความรุนแรง เช่นกรณีของข่าวตากใบ ที่ให้ผู้ชมส่งความคิดเห็นในคำถามที่ว่า "ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดการที่ตากใบ" คิดว่ามันอันตรายเกินไป เห็นได้ชัดว่าประเด็นคำถามนำไปสู่การขัดแย้งทางสังคม

คุณค่าด้านการศึกษาของสื่อมวลชน วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสื่อมวลชนในด้านการศึกษาว่า สื่อมวลชน นอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนจากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถสรุป คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก
จากผลกระทบที่เกิดจากสื่อมวลชนในด้านต่างๆ ดังกล่าว จำเป็นจะต้องจัดให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในทุกๆด้าน โดยจัดการศึกษา "สื่อมวลชนศึกษา" ขึ้นความหมายของสื่อมวลชนศึกษา หมายถึงการศึกษาหรือการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ การทำงาน และอิทธิพลของสื่อมวลชน ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินคุณค่าของสื่อ มีปฏิกิริยาตอบโต้สื่ออย่างมีเหตุผล สื่อมวลชนศึกษายังเป็นการฝึกทักษะการนำเสนอสื่อ การผลิตสื่อในระดับที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดข้อมูล ความคิดเห็น ความต้องการ ผ่านสื่อได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประชากรที่มีคุณภาพ คือรู้จักคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง ไม่เชื่อสิ่งต่างๆ โดยปราศจากเหตุผล และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ให้เป็นผู้มีความสามารถ "อ่านสื่อออกเขียนสื่อได้" (Media Literacy)แนวทางในการจัดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา ตามแนวทางการจัดหลักสูตรที่ประเทศต่างๆ ได้ดำเนินการมาในช่วงปี 1960-1985 จำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ (Halloran and Jones,1987 อ้างจาก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ 2538 : 25-26 )
1. หลักสูตรเสริมภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน (Inoculation Approach)
2. หลักสูตรสร้างความสามารถเชิงวิพากษ์ในตัวผู้รับสื่อ (Critical reader/view approach)
3. หลักสูตรสร้างความสามารถในการผลิตสื่อชุมชน(Production of community media)
4. หลักสูตรการวิเคราะห์สื่อ ทั้งรูปแบบ และเนื้อหาสาระ โดยอาศัยทฤษฎีภาพยนตร์ และสัญวิทยา (textual apporach) หรืออาจเรียกว่าแนววิเคราะห์ภาพลักษณ์และจิตสำนึก (Images and conciousness)

สื่อมวลชน เหมือนดาบสองคม ด้านหนึ่ง สื่อมวลที่มีคุณธรรมจริยธรรมสูง ย่อมสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าสื่อมวลไม่มีคุณลักษณะดังกล่าว ก็สามารถทำลายสิ่งดี ๆ ได้อย่างรวดเร็วเพราะสื่อเป็นอาวุธที่ทรงพลานุภาพอย่างยิ่งในการสร้างกระแสความรู้สึกนึกคิดของคนที่มีจิตใจอ่อนไหว ไร้เหตุผล ไร้สติได้ง่าย จริยธรรมและบทลงโทษต่อการละเมิดจริยธรรมของสื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญฯ ที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นจริงเป็นจัง

สรุปการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาให้คนมีความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ เช่น การเพิ่มของประชากร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และผู้สอนที่เชี่ยวชาญ การกระจายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเจริญก้าวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนเอง ทำให้สื่อมวลชน มีบทบาทต่อการศึกษาของประชาชนมากขึ้น ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามปกติวิสัย แต่การใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะให้การยอมรับว่า สื่อมวลชนมีบทบาททางการศึกษาอย่างกว้างขวาง แต่ในบางส่วน โดยเฉพาะการศึกษาในระบบโรงเรียน ยังมีข้อขัดแย้งบางประการที่การศึกษาในระบบโรง เรียน มีแนวความคิดและวิธีการดำเนินงาน แตกต่างไปจากการศึกษาทางสื่อมวลชน เกี่ยวกับเรื่อง ต่างๆ ต่อไปนี้ คือ ความสนุกสนาน ความทันสมัย สาระของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ และค่านิยม ทำให้โรงเรียนยอมรับบทบาททางการศึกษาของสื่อมวลชนได้เพียงระดับหนึ่งพัฒนาการของสื่อมวลชน ส่งผลให้สื่อมวลชนในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ


ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ในมุมมองของผู้คนในแทบทุกส่วนของโลก ความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลกได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมานานกว่า 200 ปี และสถานะของภาษาอังกฤษก็มั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป
จากข้อมูลใน The Cambridge Encyclopedia of Language (Crystal, 1987) มีการประมาณว่า ผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มีอยู่มากถึงประมาณ 300 ล้านคน มีผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอีกถึง 300 ล้านคน แล้วยังมีอีกประมาณ 100 ล้านคนที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาต่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงประมาณการอย่างต่ำเท่านั้น หากเรานับรวมไปถึงผู้ที่มีความคล่องแคล่วต่ำลงไป ผู้ใช้ภาษาอังกฤษจะมีจำนวนรวมถึงกว่าหนึ่งพันล้านคน
ผลการสำรวจขององค์การ UNESCO และองค์การระดับโลกอื่น ๆ ยังได้เน้นให้เห็นชัดยิ่งขึ้นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาทางการและกึ่งทางการในประเทศกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และมีความสำคัญในประเทศอื่น ๆ อีก 20 ประเทศ ภาษาอังกฤษครองความสำคัญหรืออย่างน้อยก็มีการใช้อยู่ในทวีปทั้ง 6 ทวีป และถูกใช้เป็นภาษาหลักในหนังสือ, หนังสือพิมพ์, สนามบิน, ธุรกิจระดับสากล, การประชุมระดับสากล, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, การแพทย์, การทูต, การกีฬา, ดนตรีป๊อป และโฆษณา นักวิทยาศาสตร์สองในสามของโลกเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ จดหมายสามในสี่ส่วนในโลกนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลในสื่ออิเล็คทรอนิคส์ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกอยู่ในรูปของภาษาอังกฤษ รายการวิทยุภาษาอังกฤษมีผู้รับฟังมากกว่า 150 ล้านคนใน 120 ประเทศ เด็ก ๆ กว่า 50 ล้านคนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาเสริมตั้งแต่ชั้นประถม และอีกกว่า 80 ล้านคนเรียนในชั้นมัธยม (ข้อมูลนี้ไม่ได้รวมถึงประเทศจีน)
ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้ยังคงมีอีกมากมาย แต่เราอาจจะแสดงถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษได้อย่างเด่นชัดจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ศึกษาภาษาอังกฤษจากหลาย ๆ ประเทศดังนี้:
‘เมื่อฉันเรียนภาษาอังกฤษจบ รายได้จากการเป็นเลขานุการของฉันจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่า’
(เลขานุการฝึกงานชาวอียิปต์)
‘บริษัทของผมวางแผนธุรกิจขนาดใหญ่กับประเทศอาหรับ พวกเราไม่มีใครพูดภาษาอาหรับได้ และพวกเขาก็ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น แผนงานและการประชุมทั้งหมดของเราเป็นภาษาอังกฤษ’
(นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น)
‘หลังจากฉันศึกษาภาษาอังกฤษ ฉันรู้สึกว่าฉันได้สัมผัสกับโลกสากลเป็นครั้งแรก’
(ครูชาวไนจีเรีย)
‘ถ้าผมต้องการติดตามเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดให้ทันแล้วล่ะก็ แน่นอน ผมจะต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ’
(หมอชาวอินเดีย)
ในประเทศไทย นักเรียนนักศึกษาก็มีความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมากเช่นกัน ขณะที่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรในโรงเรียนยังไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ได้อย่างเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการที่มีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งก็สามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงมีจุดด้อยอยู่บางประการ เช่น ราคาค่าเล่าเรียนสูง ความไม่สะดวกในการเดินทาง การขาดแคลนบุคคลากรผู้สอนที่มีคุณภาพ ซึ่งในจุดนี้ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็คือ การเรียนรู้คำศัพท์ ดังที่ Meara (1993) ได้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องนี้เอาไว้ว่า
Vocabulary is beginning to occupy a central place in the way people learn a language. Learning words and their meanings and how they are used is increasingly seen as the key to learning a language, not just an annoying or irrelevant side activity.
(การเรียนรู้)คำศัพท์ได้เริ่มกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้คำ, ความหมายและการใช้คำ ได้รับการยอมรับสูงขึ้นในฐานะของการเรียนรู้ภาษา ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมประกอบที่น่ารำคาญหรือไม่เกี่ยวข้อง(กับการเรียนรู้ภาษา)อีกต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาได้ด้วยตนเอง อันจะขจัดความไม่สะดวกและการขาดประสิทธิภาพของการเรียนแบบดั้งเดิมไปไ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จิตสำนึกความเป็นครู


จิตสำนึก: ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้งห้า

ครู : ผู้สั่งสอนศิษย์



ครูพึงประพฤติตามหลักปฏิบัติ โดยตั้งตนอยู่ในธรรม 5 ประการของผู้แสดงธรรม

1. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
2. จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
3. ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี
4. ไม่มีจิตเพ่งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส
5. วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น